วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมายของ E-commerce
Electronic Commerceหรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป


ประเภทของ E-Commerce
1.ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
2.ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
3.ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
4.ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์
www.mahadthai.com
5.ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
• ประโยชน์ต่อบุคคล
• ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
• ประโยชน์ต่อสังคม
• ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส
ข้อจำกัดด้านเทคนิค
• ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
• ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ
• ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ


วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อตกลงของอาเซียน

เขตการค้าเสรีอาเซียน ในปัจจุบัน มีสมาชิกรวม 10 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า บรูไน และไทย

เขตการค้าเสรีหรือ FTA คือ ความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกัน และในปัจจุบันประเทศต่างๆก็ได้พยายามขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคลุมการค้าด้านบริการ อาทิ การบริการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล การสื่อสาร การขนส่ง เป็นต้นพร้อมกับให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1. เพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความกว้าหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการคมนาคมขนส่ง
4. เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา วิทยาการ อาชีพ และการบริหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตโดยไม่มีการผลิตแข่งขันกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
  • 1. ด้านการค้า ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือยกเว้นภาษีที่ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจากประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA : ASEAN Free Trade Area)
  • 2. ด้านอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับทดแทนสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิตแร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดงแปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ
  • 3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมมือกันในด้านการจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือกับประชาคมยุโรปในการจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับอีอีซี
  • 4. ด้านการเกษตร อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการจัดการเกี่ยวกับอาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโนโลยีการประมงภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-อีซี โครงการจัดตั้งด่านกักกันโรคพืชและสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่า และโครงการตลาดของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่อยู่ในระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก
  • 5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์และโทรคมนาคม
  • 6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจและช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
  • 7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น